ข้อเสียของการไม่เถียง

0

การเถียงเกิดจากการที่คนเรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และอยากจะเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบถึงความคิดเห็นของตนบ้าน

ซึ่ง

เพราะว่านั่นคือสัญญาณที่ดีที่เกิดกระบวนการคิด (คิดตามในสิ่งที่เราพูด) ถ้าฟังแล้วไม่คิด ไม่สงสัย จะไม่ถาม ไม่เถียง อันนี้น่าจะอันตรายกว่านะคะ

           เพียงแต่ว่า…. เราต้องสอนและเรียนรู้กันว่า ต้องเถียงอย่างคนที่มีปัญญา!! อันนี้เป็นคำพูดจากนักปราชญ์ท่านหนึ่งนั่นคือ “อริสโตเติล” นั่นเอง

เมื่อก่อนสังคมไทยถ้ามีเด็กเถียงผู้ใหญ่ หรือว่าลูกน้องเถียงหัวหน้าเมื่อไหร่ละก็ มีอันฟ้าผ่าลงกลางงานทันที แต่หลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้ปฎิบัติจะต้อง ห้ามคิดต่าง ห้ามเถียง ห้ามสงสัย ห้ามถาม พ่อแม่ หัวหน้า หรือผู้สั่งการทั้งหลายจะรับผิดชอบได้ทั้งหมดหรือไม่ ในเมื่อคุณไม่ได้เป็นคนปฏิบัติ และกระบวนการต่างๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้น หรือตัวคุณเองไม่ได้เป็นผู้สัมผัส ถ้ามานั่งคิดแบบไม่อคติจริงๆ ละก็ มีข้อเสียมากมายจากการไม่เถียง เรามาดูกันดีกว่า

              ข้อเสียของการไม่เถียง

1. คุณไม่รู้ว่าเด็ก หรือลูกน้องกำลังคิดอะไรอยู่

2. หรือไม่แน่ว่าเค้าไม่ได้คิดอะไรเลย อย่างนี้คิดหนักแน่นอน

3. ไม่มีใครช่วยกรองความคิดให้คุณ บางทีสิ่งที่คุณคิด หรือว่าตำหนิเค้านั้นอาจผิดก็ได้ (หรือถ้าไม่ผิดแต่อย่างน้อย หนึ่งความเห็นต่างที่ผุดขึ้นมาก็ทำให้คุณได้สนทนาและเรียนรู้กันมากขึ้น)

4. หากไม่มีการเถียงในการประชุม นั่นหมายถึง “น่าเบื่อ” (จริงๆ นะ )

5. คุณหมดโอกาสที่จะทำความรู้จักลูกหลาน หรือลูกน้องไปโดยน่าเสียดาย

6. ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์และใช้ปัญญามาตอบข้อโต้แย้งในการเถียงนั้นๆ

การที่ลูกหลาน หรือลูกน้องเถียงนั้น ทำให้เราได้รู้จักระงับสติอารมณ์ก่อนอันดับแรก จากนั้นค่อยๆ ใช้ความเมตตา ในการตอบโต้ และใช้ปัญญาในการตอบข้อโต้แย้ง และสำคัญที่สุดสอนให้เราได้เรียนรู้กันและกัน คนที่เถียงมาด้วยความรวดเร็ว (คิดปุ๊บ เถียงปั๊บ) แต่ถ้าเราหยุดฟังด้วยอารมณ์ที่เย็น ฟังอย่างมีสติ ทุกอย่างที่ออกจากการเถียง ทำให้เราเกิดปัญญาทั้งสิ้น

อย่าโกรธเวลาใครเถียงเลยนะคะ มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสียเยอะเลยค่ะ

Share.

About Author

mutidha@gmail.com'

Leave A Reply