อ่าว ทำไมพูดอย่างนั้นล่ะ เพราะเท่าที่ผ่านเนี่ย “ความรู้สึกช้า” มักจะเป็นคำตำหนิ หรือเหน็บแนมซะมากกว่าไม่ใช่เหรอ ก็ยังตอบว่าใช่อยู่ค่ะ แต่คำตำหนิหรือเหน็บแนมก็ใช่ว่าจะหาประโชยน์ไม่ได้เสียเมื่อไหร่กัน
มาชวนคิดกันเล่นๆ นะคะ ว่าถ้าเราลองทำตัวให้รู้สึกช้าลงนิดหนึ่งเวลามีคนด่า หรือว่าเหน็บแนมเรานั้น มีข้อดีอะไรบ้าง
- รู้สึกช้าก็โกรธช้า ลองนึกดูนะคะ ถ้ามีใครสักคนเหน็บเราด้วยคำพูด หวังอยากให้เราเจ็บปวด แต่ถ้าเราความรู้สึกช้า ไม่รู้ว่าเค้ากำลังด่า เราก็ไม่โกรธ การที่ไม่โกรธ คือการดูแลตัวเองอีกแบบหนึ่งใครๆ ก็รู้ใช่มั้ยล่ะ
- โกรธช้า ก็ตอบโต้ช้า ก็ในเมื่อเราเราความรู้สึกช้า กว่าจะรู้ว่าด่า ความโกรธก็คงลดลงไปมากโข เหมือนกับว่าคำพูดเหล่านั้นผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรกระทบเราได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องหาวิธีตอบโต้
- หรือไม่โกรธ ก็ไม่ตอบโต้เลย กว่าจะรู้ว่าเค้าด่า เค้าเหน็บแนม มันก็ผ่านไปเป็นวัน เป็นสัปดาห์ บางทีเป็นเดือนๆ ก็มี นึกได้อีกทีก็ไม่มีความโกรธเหลือแล้วล่ะค่ะ แล้วจะตอบโต้ไปใย
- ไม่ตอบโต้ก็ไม่มีเรื่องมีราว เราไม่เล่นด้วยซะอย่าง เขานั่งด่า นั่งเหน็บเราฝ่ายเดียว คงไม่พ้นศรีธัญญาแน่นอน
- และที่สำคัญไม่ต้องหาวิธีระงับความโกรธให้วุ่นวาย แถมดีต่อสุขภาพด้วย
จะว่าไปดิฉันเองเคยถูกประเมิณจากเจ้านายว่า “เป็นคนมีความมั่นคงทางอารมณ์” ก็เลยสงสัยว่ายังไงคะ เจ้านายตอบว่า ก็เป็นคนที่ใครด่าใครว่า ก็ไม่โกรธ ไม่ตอบโต้เลยน่ะสิ (หรือจะบอกว่า EQ ดีว่างั้น) พอฟังเสร็จ อ่าวแล้วเค้าพากันมาด่าเราตอนไหนเนี่ย ไม่เห็นรู้ตัว น่านไง!! ข้อดีอีกข้อ เจ้านายชมอีก หรือแกกำลังเหน็บรอบสองว่าเราหน้าด้านกันแน่นะ ฮ่าๆๆๆๆ
“ต่อไปหัดเป็นคนรู้สึกช้าบ้างก็ดีนะคะ ไวต่อความรู้สึกไปหมดทุกเรื่องไม่ใช่ผลดีหรอกค่ะ”